ภาษา:ภาษาไทย

ครบรอบ 5 ปีการจัดประชุมสุดยอด 1 แถบ 1 เส้นทาง : รู้จัก“เส้นทางสายไหมดิจิทัล”

criPublished: 2022-05-18 22:21:30
Share
Share this with Close
Messenger Pinterest LinkedIn

“Digital Silk Road”(DSR)หรือเส้นทางสายไหมดิจิทัลเปิดตัวอย่างเป็นทางการโดย“สมุดปกขาว”(White Paper)ของรัฐบาลจีนหรือรายงานทางการจากสำนักงานสารนิเทศแห่งคณะรัฐมนตรีจีน(国务院新闻办公室)ซึ่งเผยแพร่อย่างเป็นทางการในปี2015สมุดปกขาวฉบับนี้เป็นประกาศสะท้อนให้เห็นถึงสิ่งที่เป็นนโยบายของฝ่ายจีนต่อการประเมินสถานการณ์ทางด้านเทคโนโลยีในโลกดิจิทัลของประชาคมโลก

นโยบาย “เส้นทางสายไหมดิจิทัล” เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง

“การปักหมุดด้านดิจิทัล”ของนโยบายเส้นทางสายไหมดิจิทัล(DSR)ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง(BRI)เรียกว่าคือ“ความฝันของชาวจีน”(Chinese Dream /中国梦)ในการผลักดันการฟื้นฟูครั้งใหญ่แห่งประชาชาติจีน(The Chinese Dream of Great National Rejuvenation /中华民族伟大复兴)ซึ่งเห็นได้ชัดเจนในชีวิตประจำวันของประชากรยุคเทคโนโลยี5G หรือเทคโนโลยี Internet of Things (IoT)ที่กล่าวได้ว่าอุปกรณ์และสิ่งต่างๆได้ถูกเชื่อมโยงสู่โลกอินเตอร์เน็ตทั้งเรื่องการเก็บข้อมูล Big Data ที่แม่นยำและเป็นปัจจุบันการเชื่อมต่อของ IoT ถือเป็นตัวกำหนดการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจในอนาคตส่งผลต่อการค้าและการดำเนินชีวิตทั่วโลกเห็นได้จากการเดินสายเคเบิลใยแก้วนำแสงการจัดทำอุปกรณ์เครือข่ายโครงการที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมอวกาศแผนพัฒนาเทคโนโลยี5G ศูนย์ข้อมูลและการวิจัยโครงการเมืองอัจฉริยะ(Smart City)แพลตฟอร์ม e-Commerce ตลอดจนการเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชนให้สามารถชำระเงินผ่านระบบ e-Payment เกือบทั่วประเทศโลกซึ่งจีนให้ความช่วยเหลือด้านเส้นทางสายไหมดิจิทัลมุ่งสู่การปรับปรุงเครือข่ายโทรคมนาคมของผู้ใช้บริการยังให้การสนับสนุนบริษัทเทคโนโลยีจีนที่มีชื่อเสียงเช่น Baidu, Alibaba, Tencent และ Huawei ขยายตลาดออกมานอกประเทศจีนภายใต้เทคโนโลยีที่มีความสำคัญกับการลงทุนได้แก่ด้านปัญญาประดิษฐ์(AI)คลาวด์คอมพิวติ้ง(Cloud Computing)และสิ่งที่น่าสนใจในช่วงยุค“New normal”ของโรคระบาดไร้พรมแดน COVID-19ที่ในช่วงครึ่งหลังของปี2020ทำให้ทุกคนต้องเว้นระยะห่างในการใช้ชีวิตการเดินทางไปในสถานที่ต่างๆโดยเฉพาะระหว่างประเทศมีความลำบากมากขึ้นอุปสรรคเหล่านี้เองที่ทำให้ China Social Media Marketing เติบโตขึ้นระบบออนไลน์การซื้อขายสินค้าของจีนผ่านแพลตฟอร์ม e-Commerce ที่มีอยู่หลากหลายในจีนไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการอย่าง Tmall, JD.com หรือ Taobao ต่างก็ขับเคี่ยวและแข่งขันกันอย่างน่าสนใจซึ่งทำให้จำนวนผู้ใช้งานด้าน e-Commerce เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก610ล้านคนในปี2018เพิ่มเป็น749ล้านคนในช่วงครึ่งปีแรกของปี2020อีกทั้ง“WeChat”แอปพลิเคชันยอดนิยมที่ให้บริการติดต่อสื่อสารมัลติมีเดียและสังคมออนไลน์อยู่ในชีวิตประจำวันของคนจีนทุกจังหวะนาทีมีการใช้งานได้ทั้งบนแพลตฟอร์มของ iPhone, Android และ Windows ได้เชื่อมต่อสู่เครือข่ายสังคม(Social Network Integration)ทำให้มีจำนวนผู้ใช้บริการจากประเทศต่างๆที่ต้องการสื่อสารกับคนจีนมีจำนวนมากขึ้น

12全文 2 下一页

Share this story on

Messenger Pinterest LinkedIn